การส่งเสริมชาวไร่

การส่งเสริมชาวไร่

KSL Group ยึดถือหลักการ “ชาวไร่ร่ำรวย โรงงานรุ่งโรจน์ ชุมชนชื่นชอบ” มาโดยตลอดระยะเวลากว่า 70 ที่เราเติบโตควบคู่กันมากับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในประเทศไทย โดยเห็นว่าเป้าหมายของการส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยใน ประเทศไทยของเรานั้น เราอยากให้ชาวไร่มีความร่ำรวยอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการบริหารจัดการได้ด้วยตัวเอง สามารถยึดถืออาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อยสืบต่อกันรุ่นต่อรุ่น ด้วยความภาคภูมิ
Image

ภาพรวมธุรกิจอ้อยในประเทศไทย

พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิตและจำหน่ายอ้อย

จัดระบบและควบคุมการผลิตและจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้ชาวไร่อ้อย และเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
เข้ามาร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่การปลูกอ้อยไปจนถึงการจัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทั้งในและนอกประเทศ

เพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
และเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงาน และประชาชนผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)

เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการตาม พรบ.อ้อยและน้ำตาลทราย กำหนดนโยบายกำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพ

กำหนดนโยบายส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย สร้างความเป็นธรรม และรักษาผลประโยชน์ในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและผู้บริโภค
ผลประโยชน์อื่นที่ได้รับและการดูแลจากภาครัฐ

ผลประโยชน์อื่นที่ได้รับและการดูแลจากภาครัฐ

เงินสนับสนุนผ่าน ธกส.
ไม่ต้องรับความเสี่ยง จากราคาน้ำตาลโลกที่ไม่คงที่

การจัดการวัตถุดิบอย่างยั่งยืน

ต้นน้ำของธุรกิจคืออ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ทางกลุ่มบริษัทฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งหากได้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพจะส่งผลให้ได้สินค้าที่ดีตามมาด้วยเช่นกัน กลุ่มบริษัทฯได้นำ โครงการ iCane (Intelligance Cane System by KSL Group) ประกอบด้วย 4 โครงการ คือ โครงการ iFarm, iMap, iForm, iCash ซึ่งเป็นระบบการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการส่งเสริมชาวไร่ การปลูกอ้อยของ KSL  ที่พัฒนาโดยใช้นวัตกรรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้ตอบสนองทุกความต้องการของชาวไร่ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริหารงานอย่างสมบูรณ์แบบ

โครงการ iFarm

โครงการ iFarm เป็นการเปลี่ยนวิธีปลูกอ้อยเกษตรขนาดใหญ่ของบริษัทฯ ในรูปแบบเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งปลูกในพื้นที่ภาคตะวันตกของเคเอสแอล สาขาอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีทีมเพาะปลูกของเคเอสแอล สาขาอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นทีมดูแลภายใต้ชื่อทีม KSL Ranger โดยได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปลูกอ้อยเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยระบบ GPS (Guidance and Auto Steering System) ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกอ้อย จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับเครื่องจักรให้สอดคล้องกัน ซึ่งช่วยในเรื่องการพัฒนากระบวนการปลูก การบำรุง ตลอดจนการเก็บเกี่ยวอ้อย ด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในทิศทางเดียวกัน และยังเป็นการเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในแปลงและลดต้นทุนการผลิตต่างๆ อาทิ ลดการไถพรวน ลดการใช้สารเคมี ลดแรงงาน ลดการเผา ลดการบดอัด ลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ลดปัญหาการท่วมขังของน้ำในแปลง ขจัดสิ่งกีดขวางในแปลงเพาะปลูก เป็นต้น

โครงการ iForm

นับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาพัฒนางานของนักส่งเสริมเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความสะดวก รวดเร็วแก่ชาวไร่ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การทำงาน

แบบเดิม
1.ใช้กระดาษในรูปแบบฟอร์มต่างๆให้แก่ชาวไร่            
2.นำเอกสารต่างๆมากรอกข้อมูลลงระบบที่สำนักงาน           
3.ระยะเวลาในการดำเนินการรวมถึงพิจารณา ใช้เวลาประมาณ 5-14 วัน   

แบบใหม่
1.กรอกข้อมูลของชาวไร่ลง Tablet
2.ข้อมูลดังกล่าเข้าสู่ระบบดำเนินการพิจารณา
3.ได้ทันที ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-6 วัน

จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ส่งผลให้ การทำงาน สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สามารถบริหารจัดการเวลาและให้บริการชาวไร่ได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

โครงการ iMap

โครงการ iMap เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เช่นเดียวกับ iForm แต่นำมาใช้เพื่อใช้ในการบริหารจัดการไร่อ้อย ตั้งแต่พื้นที่ปลูก การปลูก บำรุงรักษา เก็บเกี่ยว ขนส่ง ตลอดจนการเฝ้าระวัง (Monitoring) รวมถึงคาดคะเนได้ว่าไร่อ้อยสามารถตัดได้เมื่อใด ทำให้บริหารจัดการไร่อ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ลดการติดคิวอ้อยในโรงงานและได้อ้อยที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น

ข้อดีของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้
1.สามารถบอกพิกัดไร่อ้อย รวมถึงติดตามการเติบโตของอ้อย ได้อย่างถูกต้อง
2.คาดคะเนได้ว่าอ้อยพร้อมที่จะตัดอ้อยเมื่อไหร่ ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ทำให้ได้อ้อยที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
3.ลดการติดคิวอ้อยเป็นระยะเวลานาน

โครงการปลูกอ้อยอย่างยั่งยืน

โครงการปลูกอ้อยอย่างยั่งยืน เป็นโครงการเปลี่ยนการปลูกอ้อยทั่วไปให้เป็นการปลูกอ้อยออร์แกนิค โดยนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ในแปลงปลูกอ้อยเพื่อให้ได้อ้อยที่มาจากธรรมชาติ 100 % ระยะเวลาการดำเนินการของโครงการ 3 ปี และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และช่วยลดการทำลายหน้าดิน โดยนำร่องโครงการที่เคเอสแอล สาขาอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งชาวไร่ที่เข้าร่วมโครงการอ้อยยั่งยืนจะได้รับความรู้และคำแนะนำจากทีมนักวิชาการของเคเอสแอลตลอดโครงการ

โครงการศึกษาเพิ่ม CCS ในอ้อย

เป็นโครงการการปลูกอ้อยเพื่อทดลองการเพิ่มค่า CCS ด้วยสารเร่งความหวานให้กับอ้อย สืบเนื่องมาจากบริษัท YAMAHA ได้เคยเข้ามาทำการทดลองการพ่นสารเร่งความหวานตั้งแต่ปี 2561 และในปี 2562 ได้รับความร่วมมือจากบริษัท คชาเคมีการเกษตร จำกัด เข้ามาร่วมทดลองเรื่องสารเร่งความหวาน และเพิ่มการทดลองสารกำจัดวัชพืช

โครงการ KSL Junior Farmer ทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่

เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัท KSL ต้องการส่งต่อความเป็นอยู่ของธุรกิจการทำฟาร์มอ้อยแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยสายงานจัดหาวัตถุดิบและส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมได้จัดหลักสูตร “ทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เรื่องการนำความรู้ที่ได้รับการอบรมของทายาทเกษตรไปประยุกต์ใช้กับแปลงอ้อยของพ่อแม่ และในอนาคตทายาทกลุ่มนี้จะทำการเปิดโควตาเป็นของตนเอง นอกจากนั้นเพื่อการสนับสนุนให้ชาวไร่ปลูกอ้อยอย่างยั่งยืน เพื่อการขยายผลผลิตในแนวตั้ง เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่และโรงงาน เพื่อสร้างทีมทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ต่างโรงงานกันเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการปลูกอ้อยหรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับอ้อยของแต่ละภาค

โดยมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในธุรกิจอ้อย และสามารถสร้างความยั่งยืนได้ด้วย ตนเอง บนพื้นฐานแนวโน้มอนาคตในอุตสาหกรรมอ้อยในอนาคตของประเทศไทย และการสานต่ออาชีพการทำไร่อ้อยให้มี ความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป  

กิจกรรมทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ จัดขึ้นที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว ปาร์ค แอนด์ รีสอร์ท หัวข้อของหลักสูตการอบรม ดังนี้ 1.การให้ความรู้เรื่องธุรกิจอ้อย ด้วยการอธิบายเรื่องการวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน 2.การเพิ่มผลผลิต ด้วยการจัดการฟาร์มสมัยใหม่และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเกษตร 3.ศาสตร์ประยุกต์ด้วยการปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
Junior2
Junior3
Junior6
Junior7
Junior8
Junior9

โครงการนวัตกรรมเครื่องมือการใส่ปุ๋ยในแปลงอ้อย

โดยบริษัท เคเอสแอล แมททีเรียล ซัพพลายส์ จำกัด ซึ่งจัดจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยของบริษัทฯ ได้พัฒนานวัตกรรมเครื่องมือการใส่ปุ๋ย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการใส่ปุ๋ยเกษตรกรชาวไร่อ้อย อันเนื่องมาจากเครื่องมือที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวยกับการใส่ปุ๋ยในปัจจุบัน ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือขึ้นใหม่ 2 รูปแบบดังนี้

1.มินิคอมบาย เป็นตัวเตรียมดินเพื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเครื่องมือตัวนี้นอกจากจะเพิ่มการฝั่งปุ๋ยอินทรีย์ลงดินเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดขั้นตอนการทำงานและการเตรียมดินของเกษตรกรลง
Picture1
Picture2
Picture3
Picture4
Picture5
Picture6
2.เครื่องมือฝังปุ๋ย 2 ถังพร้อมบูมสเปรย์ ปัจจุบันเครื่องมือฝังปุ๋ยจะมีเพียง1ถัง และถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีพร้อมกันจะทำให้ปุ๋ยติดเครื่องมือไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทางบริษัทฯ จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่มีถังใส่ปุ๋ยเพิ่มมาเป็น 2 ถังเพื่อแยกปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี และนอกจากนั้นยังเพิ่มการบูมสเปรย์เข้ามา ซึ่งการใช้เครื่องมือดังกล่าวช่วยลดขั้นตอนการทำงานของเกษตรกรลงอีกด้วย
Picture7
Picture8
Picture9
Picture10

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมของบริษัทฯ

ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้พัฒนาเทคโนโลยีระบบดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติรายละเอียดสูงที่ชื่อว่าดาวเทียม Sentinels สำหรับให้บริการประเทศสมาชิก นักพัฒนา นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกได้ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาติดตามข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนแผ่นดินและในชั้นบรรยากาศ รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการดำเนินการควบคุมนโยบายทางการเกษตรของภาคพื้นยุโรปด้วย (http://esa-sen4cap.org/) ซึ่งความสามารถที่สำคัญนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทในการเริ่มศึกษาและพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-1 และ Sentinel-2 ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

จากการศึกษาพบว่าข้อมูล Sentinel-2 ที่มีความละเอียดจุดภาพขนาด 10x10 เมตร สามารถประมวลผลเป็นดัชนีพืชพรรณ (vegetation index) สำหรับติดตามอ้อยของแปลงในสัญญาได้อย่างถูกต้อง รวมถึงสามารถระบุได้ว่ามีการปลูกเมื่อใด มีเจริญเติบโตสม่ำเสมอทั้งแปลงหรือไม่ มีปริมาณตันอ้อยเท่าใด   

และจากการศึกษาและพัฒนาระบบประมวลผลในปีหีบอ้อย 2562 - 2563 สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการปฏิบัติงานของโรงงานในการรายงานติดตามการตัดอ้อยรายแปลง รวมถึงการประเมินตันอ้อยที่มีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งในปีหีบ 2563 - 2564 ได้ทดสอบการประมวลผลข้อมูลรายเดือนเพื่อติดตามการเจริญเติบโต/ตันอ้อยในแปลงอ้อยของโรงงานทั้ง 5 โรง

รวมถึงได้ทดสอบและพัฒนาระบบประเมินศักยภาพอ้อยทั้งหมดในพื้นที่รอบโรงงาน (แปลงอ้อยนอกสัญญา) เพิ่มเติมขึ้นมาใช้งานอีกหัวข้อหนึ่ง โดยมุ่งหวังในการพัฒนาองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการติดตามอ้อยให้สามารถนำมาเป็นระบบที่ช่วยเกษตรกรเจ้าของแปลงดูแลแปลงอ้อยของตนเองต่อไปได้ในอนาคต

โครงการ KMS WEB

โครงการ KMS WEB เป็นโครงการระหว่างโรงงานน้ำตาล, ทีมงานของบริษัท เคเอสแอล แมททีเรียล ซัพพลายส์ จำกัด (KMS) (สำนักงานใหญ่) และซัพพลายเออร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดตามการส่งสินค้า ลดขั้นตอนการทำงานที่เกิดขึ้นในงานจากการทำงานประจำวัน ลดความผิดพลาดและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งการติดตามการวางบิลระหว่างซัพพลายเออร์ และ KMS ได้อีกด้วย นอกจากนี้โครงการ KMS WEB จะพัฒนาในส่วนของการประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัทฯ ให้บุคคลภายนอกได้รับทราบ เพื่อสร้างยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น

โดยหลักการของการนำ KMS WEB มาใช้สำหรับการลดขั้นตอนของการทำงานประจำวัน มีรายละเอียดดังนี้

การทำงานแบบเดิม

1.ธุรการโรงงานรวบรวมคำสั่งซื้อสินค้าของชาวไร่ส่งมายังธุรการกลางของโรงงานในแต่ละสัปดาห์

2.ธุรการกลางของโรงงานทำข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า (ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยเคมี, สารเคมี) สรุปข้อมูลลงตารางไฟล์ Excel และส่งข้อมูลมาทางอีเมล์ ให้ทีมงาน KMS

3.ทีมงาน KMS ทำข้อมูลการสั่งซื้อแยกตามซัพพลายเออร์ในรูปแบบข้อมูลตารางไฟล์ Excel และนำส่งซัพพลายเออร์โดยใช้อีเมล์

4.ซัพพลายเออร์รับอีเมล์คำสั่งซื้อจาก KMS และส่งสินค้า

5.หลังจากส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์จะอัพโหลดเอกสารการส่งสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) เพื่อให้ทีมงาน KMS ตรวจสอบความถูกต้อง และทีมงาน KMS ดำเนินการทำขายในระบบ SAP เพื่อส่งให้ฝ่ายบัญชีตั้งหนี้และแจ้งหนี้โรงงานน้ำตาล

6.ซัพพลายเออร์หลังจากอัพโหลดเอกสารในแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) แล้วจึงส่งเอกสารกลับมายังกรุงเทพฯ เพื่อเข้ามาวางบิลที่ KMS

การทำงานโดยใช้งานระบบ KMS WEB

1.ธุรการโรงงานแต่ละเขตจะมีบัญชีหรือ Username ของตนเอง เมื่อมีการสั่งซื้อจากชาวไร่ พนักงานจะเข้าสู่ระบบหรือ Login เข้าระบบเพื่อทำการกรอกข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า

2.ธุรการกลางหรือผู้มีอำนาจจะต้องเข้ามาอนุมัติคำสั่งการสั่งซื้อในระบบ เพื่อส่งคำสั่งซื้อมาที่ทีมงาน KMS

3.เมื่ออนุมัติเสร็จแล้ว ทีมงาน KMS จะได้รับใบสั่งซื้อจากระบบ KMS WEB (โดยมีระบบตอบกลับอีเมล์อัตโนมัติหรือ Auto mail แจ้งเตือน เมื่อได้รับใบสั่งซื้อเพื่อแจ้งเตือนทีมงาน) หลังจากได้รับใบสั่งซื้อแล้ว ทีมงาน KMS จึงต้องอนุมัติอีกครั้งเพื่อส่งใบสั่งซื้อให้แก่ซัพพลายเอ่อร์

*ระบบ KMS WEB จะแยกคำสั่งซื้อตามซัพพลายเออร์ให้โดยอัตโนมัติ

4.หลังจาก KMS อนุมัติคำสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์จะต้องมาตรวจสอบใบสั่งซื้อใน KMS WEB (โดยมีระบบตอบกลับอีเมล์อัตโนมัติหรือ Auto mail แจ้งเตือนแก่ซัพพลายเออร์) และส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อ

5.หลังจากส่งสินค้าเสร็จ ผู้ส่งสินค้าจะต้องมาอัพโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องในระบบ KMS WEB

6.ทีมงาน KMS ดาวน์โหลดเอกสารสำหรับเปิดบิลขาย 

บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 503 อาคาร เคเอสแอล ทาวเวอร์ ชั้น 9
ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

โทร. +662-642-6191-9
แฟกซ์. +662-642-6097

© Copyright 2020 Khon Kaen Sugar Industry Public Company Limited. All rights reserved. Designed by Megaweb.co.th